WHO WE ARE

เรียลเฟรมคือใคร ?

Realframe (เรียลเฟรม) คือการรวมตัวของกลุ่มช่างภาพข่าวและสารคดีในประเทศไทย ที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชน สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือหลักในการบอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้น ตลอดจนการนำเสนอเนื้อหาและบทความประกอบ เพื่อนำไปสู่การตั้งคำถาม ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของกลไกลที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าวในอนาคต โดยเริ่มร่วมตัวกันครั้งแรกในปี 2012 และผลิตงานภาพถ่ายตลอดจนสารคดีเพื่อบอกเล่าประเด็นเชิงสังคมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันเรียลเฟรมยังคงผลิตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงสังคม  ควบคู่ไปกับความพยายามในการยกระดับการทำงานเล่าเรื่องด้วยภาพให้มีมาตรฐานและได้รับการยอมในระดับสากล และยังพยายามที่จะสร้างชุมชนที่เชื่อมโยงระหว่างภาพถ่ายและศิลปะสาขาอื่นๆ เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสารผ่านกิจกรรมผ่านการร่วมงานกับองค์กรต่างๆทั้งภาพรัฐและภาคประชาสังคมที่มีความต้องการสื่อสารในประเด็นทางสังคม เช่น Amnesty International Thailand  คณะ ICT มหาวิทยาลัยศิลปากร  สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  ThaiPBS   Earthrights International มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) หรือ Makhampom Foundation มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(CRCF) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)  Sea Junction รวมไปถึงสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เป็นต้น โดยร่วมกันดำเนินงานผ่านรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆ บนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของสมาชิกในกลุ่ม Realframe ภายใต้ประเด็นที่แต่ละองค์กรกำลังขับเคลื่อนใน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เรียลเฟรมยังคงผลิตงานภาพถ่ายเพื่อบอกเล่าความเป็นไปของสังคม ควบคู่ไปกับความพยายามในการยกระดับการทำงานเล่าเรื่องด้วยภาพให้มีมาตรฐานและได้รับการยอมในระดับสากล และยังพยายามในที่จะสร้างชุมชนที่เชื่อมโยงระหว่างภาพถ่ายและศิลปะสาขาอื่นๆ เป็นสื่อกลางในการสร้างความ . เข้าใจระว่างผู้สื่อสารและผู้รับสารผ่านกิจกรรม อย่าง เช่นการจัดกิจกรรมอบรมถ่ายภาพในประเด็นเชิงสังคมและสิทธิมนุษยชน กิจกรรมงานแสดงงานภาพถ่าย (projection night) ตลอดจนสร้างพื้นที่ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ใช้ภาพถ่าย (visual content ) เชิงสังคม ในรูปแบบของถาพถ่ายเล่าเรือง Photo Essay ผ่านทางสื่อออนไลน์ และเว็ปไซต์​

REALFRAME WORKSHOP

ด้านการศึกษา

กิจกรรอบรมถ่ายภาพและ Storytelling ให้กับผู้สนใจ เป็นกิจกรรมที่ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เข้าร่วม โดยจัดทำขึ้นร่วมกับองค์กรต่างๆที่มีความต้องการสนับสนุนประเด็นทางสังคม และเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกทักษะทางการสื่อสารผ่านช่องทางในการสื่อสารที่เปิดกว้างเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เช่น กิจกรรมอบรมถ่ายภาพเล่าเรื่องสิทธิมนุษยชน ร่วมกับ Amnesty International Thailand และคณะ ICT มหาวิทยาลัยศิลปากร อบรม Visual Storytelling ประเด็นพลังงานทางเลือก ร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจกรรพลังงาน (กกพ.) และสถาบันเอเชียร์ศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ตลอดจนเผยแพร่ผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการออกสู่สาธารณชน

2017
Shoot it Right : เล่าเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านภาพถ่าย

ในปี 2017 เรียลเฟรมได้จัดการอบรมการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่ายภายใต้ชื่อโครงการ “Shoot it Rights เล่าเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านภาพถ่าย” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10-14 มกราคา 2560 โดยได้ร่วมจัดโดย แอมแนสตี้อินเตอร์เนชั่นเนลประเทศไทย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน

2018
Shoot it Right II: เล่าเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านภาพถ่าย 2

ในปี 2018 เรียลเฟรมได้จัดการอบรมการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่ายภายใต้ชื่อโครงการ “Shoot it Rights เล่าเรื่องสิทธิมนุษยชนผ่านภาพถ่าย” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9-13 มกราคา 2562 โดยได้ร่วมจัดโดย แอมแนสตี้อินเตอร์เนชั่นเนลประเทศไทย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน

2019
อบรมเครื่องมือการสื่อสารให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านวังสะพุง

ในปี 2019 เรียลเฟรมได้จัดอบรมเครื่องมือการสื่อสารให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยเป็นชาวบ้านจากหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำ โดรงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านสามารถบอกเล่าเรื่องราวของตนเองผ่านภาพถ่ายได้ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นแกนนำ ชาวบ้าน และเยาวชนในพื้นที่จำนวน 20 คน

2019
อบรมเครื่องมือการสื่อสารให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านวานรนิวาส

การอบรมเครื่องมือการสื่อสารให้กับกลุ่มแกนนาผู้พิทักษ์สิทธิในพื้นที่วานรนิวาส จังหวัด สกลนคร ผู้ปกป้องสิทธิชุมชนจากโครงการเหมืองแร่โปแตช และตกเป็นเหยื่อจากการถูกคุกคาม เพื่อให้ชาวบ้านและเยาวชนในพื้นที่สามารถเล่าเรื่องเล่าผลกระทบ และความเป็นอยู่ รวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจในพื้นที่ผ่านการใช้ภาพถ่ายและคลิปวิดิโอ เพื่อการสื่อสารสาธารณะได้

2020
Looking for the Exist: เล่าเรื่องทางเลือกสู่ทางรอดของพลังงานไทย

ในปี 2020 เรียลเฟรมได้จัดอบรมการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่ายภายใต้ชื่อโครงการ “Looking for the Exist: เล่าเรื่องทางเลือกสู่ทางรอดของพลังงานไทย” โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-22 มีนาคม โดยเป็นการจัดร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) สถาบันวิจัยพลังงาน Power Jungle และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่ออบรมผู้เข้าร่วมให้บอกเล่าเรื่องราวของพลังงานทางเลือกผ่านภาพถ่ายชุด(photo essay) โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน

2020
Communication Training and Advocacy for Stateless of Service

ในปี 2020 เรียลเฟรมได้จัดอบรมการทำสื่อมัลติมีเดีย ที่รวมภาพถ่าย งานเขียน วีดีโอ อินโฟกราฟฟิค ให้กับกลุ่มบุคคลไร้สัญชาติ ภายใต้โครงการ “Communication Training and Advocacy for Stateless of Service” เป็นโครงการที่จัดทำร่วมกันกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) จัดขึ้นในประหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม

REALFRAME EXHIBITION

นิทรรศการภาพถ่าย

กิจกรรมเวทีสาธารณะและนิทรรศการภาพถ่าย  เป็นกิจกรรมที่นำผลที่ได้จากการทำงานของกลุ่ม Realframe นำเสนอออกสู่สังคม ทั้งในรูปแบบเสวนาวิชาการที่มีกลุ่มผู้ที่มีความชำนาญในแต่ละประเด็นมาร่วมพูดคุยผ่านผลงานของกลุ่ม Realframe เพื่อใช่ศิลปะเป็นเครื่องมือสื่อสารประเด็นเชิงสังคม เช่น การกัดกิจกรรมเวทีเสวนาและนิทรรศการเพื่อพูดเรื่องปัญหาสิทธิทำกินของชาวบ้านปกาเกอะญอ ร่วมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนฯ เสวนาในประเด็น Freedom of Expression ผ่านผลงานภาพถ่าย Realframe ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และนิทรรศการภาพถ่ายที่ถ่ายทอดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่ร่วมกันจัดกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(CRCF) หรือเวทีเสวนาและนิทรรศการภาพถ่ายที่บอกเล่าประเด็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในประเทศลาว ทีจัดร่วมกับ Towards Ecological Recovery and Regional Alliance (TERRA) เป็นต้น

2019
“Never Again: หยุด ย่ำ ซ้ำ เดิน”

ภาพชุดของ REALFRAME ร่วมเข้าจัดแสดงในฐานะส่วนหนึ่งของงาน NEVER AGAIN | หยุด | ย่ำ | ซ้ำ | เดิน |นิทรรศการว่าด้วย “พยานหลักฐาน” ของการควบคุม คุกคาม ปราบปราม ที่ทั้งหยุดยั้งและเหยียบย่ำพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศมานานกว่า 5 ปี เพื่อจุดประกายหวังว่าเรื่องราวเหล่านี้จะไม่เกิดซ้ำ และมีหนทางเดินต่อไปด้วยกัน ที่จัดขึ้นที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

2019
Projection Night : “Shoot it Right 3”

Projection Night “Shoot it Right 3” แสดงผลงานของผู้เข้าร่วมการอบรม visual storytelling จากการอบรมเชิงปฎิบัติการ “Shoot it Right 3” ที่เรียลเฟรมจัดขึ้นโดยมีหลากหลายองค์กรเป็นผู้สนับสนุนทั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล, คณะ ICT ม.ศิลปากร, และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย Amnesty International Thailand

2019
Gray Zones of Humanity

นิทรรศการภาพถ่าย “Gray Zones of Humanity” Realframe ร่วมกับ Book Re:public และ Cross Cultural Foundation (CrCF) ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสิทธิมนุษยชน การเมือง ประชาธิปไตย ที่ต้องการสร้างพื้นที่พูดคุย และสลายมายาคติที่มีต่อ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะภายใต้วาทกรรมเรื่อง ‘โจรใต้’ และ ‘พื้นที่สีแดง’ที่ Weave Artisan Society เชียงใหม่

2019
Life of ‘Sea Gypsies

นิทรรศการภาพถ่าย “Life of ‘Sea Gypsies” เรื่องมอแกนและทำเข้าใจวิถีของชาวเล หนึ่งกลุ่มจากหลายๆกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกับพวกเรามาอย่างยาวนาน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านพวกเขาปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง โดย Realframe และ วิทวัส เทพสง นักเคลื่อนไหวท้องถิ่น ทำงานร่วมกับเครือข่ายชาวเลอันดามัน ร่วมกับ ดร. นฤมล อรุโณทัย นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ SEA-Junction ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

2020
cost of lives, cost of living: ฆ่าครองชีพ

การแสดงภาพถ่ายชุดที่ชื่อว่า “cost of lives, cost of living: ฆ่าครองชีพ” ในงาน “MAEW – Mekong-ASEAN Environmental Week” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในงานมีนิทรรศการภาพถ่ายบนพื้นผ้ายาว 13 เมตรตามรูปแบบ “บุญพะเหวด” ที่พยายามบอกเล่าความเสียหายทั้งด้านกายภาพและจิตใจของชาวบ้านในแขวงอัตตะปือ ประเทศลาวที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนแตกและชวนตั้งคำถามถึงที่มาของไฟฟ้าที่เราใช้กัน

CAMPAIGN

แคมเปญเพื่อการสื่อสาร

นอกเหนือไปจากการศึกษาและการจัดนิทศรรการแล้วในปีนี้เองทางเรียลเฟรมก็ได้นำการสื่อไปสู่การรณรงค์ หรือแคมเปญโดยในปัจจุบันทางเรียลเฟรมได้มีการปล่อยแคมเปญ 2 เรื่องที่พูดถึงปัญหาแม่น้ำโขงในชื่อ “connect the river” และ #photoforair ที่พูดถึงผลกระทบของฝุ่นควันในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้

2021
#PHOTOFORAIR

“CNXPM2.5” คือ preset สำหรับแต่งภาพที่ทำขึ้นจากประสบการณ์ทางสายตาของช่างภาพที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงวิกฤตฝุ่นควัน และได้เฝ้ามองการเปลี่ยนไปการสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การจัดทำ filter นี้ขึ้นมานอกเหนือจากต้องการที่จะชวนมามองถึงปัญหาสภาพอากาศแล้ว preset นี้ยังหวังว่าจะแก้ปัญหาอากาศหายใจที่ไม่เท่าเทียมกันผ่านเแคมเปญที่ชื่อ #photoforair

PRINT MEDIA

ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์

เรียลเฟรมยังได้มีการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ให้กับองค์กรต่าง ๆ อย่างมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน(LPN) โดยเป็นสิ่งที่เรามองเห็นว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือ print media เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ใช้ชื่อสารดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องถูกออกแบบร่วมไปกับขั้นตอนในการผลิตเนื้อหา