Workshop ภาพถ่ายกับป่าสบลาน

เครื่องมือภาพถ่าย (photo essay) ว่าด้วยการ สำรวจ บอกเล่า ตั้งคำถาม
วิถีปกาเกอญอบ้านสบลาน ในโครงการอาสานักสิทธิมนุษยชนรุ่น 14

อาสาสมัครนักสิทธิรุ่น 14

workshop เครื่องมือภาพถ่าย (photo essay) ว่าด้วยการ สำรวจ บอกเล่า ตั้งคำถาม วิถีปกาเกอะญอบ้านสบลาน จังหวัดเชียงใหม่ ในโครงการอาสานักสิทธิมนุษยชนรุ่น 14 เพื่อติดตั้งเครื่องมือและมุมมองในการบอกเล่าเรื่องสิทธิผ่านภาพถ่ายและงานเขียนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

ช่วงเวลาสั้นๆ 2 วัน 1 คืน (6-7 พฤศจิกายน 2562) บนบ้านสบลาน อำเภอสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่ กับการเรียนรู้วิถีชุมชนปกาเกอะญอด้วยการเดินสำรวจป่ารอบหมู่บ้าน รับฟังเรื่องราวและเรื่องเล่าการต่อสู้เพื่อสิทธิในโฉนดชุมชนของคนในหมู่บ้านผู้หากินกับป่า พร้อมกับหยิบกล้องมือถือของตัวเองบันทึกมุมมองน่าสนใจ ที่ว่าด้วยธรรมชาติ วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเป็นอยู่ของคนที่นี่ ผ่านสายตาของนักสิทธิที่ได้เรียนรู้ด้านเทคนิค วิธีคิด มุมมองการเล่าเรื่องเชิงศิลปะและสารคดี

เพื่อเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ให้นักสิทธิในประเด็นต่างๆ สามารถนำไปสื่อสารงานของตัวเองไปสู่ผู้คนภายนอกได้อย่างน่าสนใจ

เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วม

สำหรับการเข้าศึกษาในพื้นที่ชุมชนสบลาน ถือว่าเป็นมิติใหม่ที่ทำให้ตัวเองได้เห็นอะไรมากขึ้น ได้สัมผัสกับความเป็นอยู่ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสบลาน ซึ่งทำให้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่างที่ยังไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นผู้คน บ้านเรือน อาหารการกิน และอาชีพของพี่น้องชาวสบลาน และนอกจากกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโอกาสได้เรียนรู้วิธีกระบวนการ การถ่ายภาพที่สื่อความหมายไปยังผู้เห็นภาพนั้น ว่ามีความหมายหรือมุมมองไปในทิศทางใด ตลอดถึงการเขียนบทความหรือข้อความสั้น ๆ เพื่อประกอบภาพถ่าย ซึ่งถือว่าเป็นความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา สุดท้ายการลงพื้นที่สบลาน ทำให้เราได้ทั้งความรู้ และเกิดความเข้าใจหลายสิ่งอย่าง #สบลานผสานใจ
ปรเมษฐ์ ศรีวงศ์ราช
พนักงานบริหารจัดการทั่วไป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนงานกลุ่มจิตตปัญญาและภาวะผู้นำทางจริยธรรม

การอบรมทักษะการถ่ายภาพและเขียนเรื่องประกอบภาพ – ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แสง เงา ขนาดของวัตถุที่อยู่ในภาพจะมีผลต่อการดึงจุดสนใจของผู้ชมภาพด้วย – ได้เรียนรู้การเขียนคำบรรยายภาพโดยเริ่มจากที่คิดว่าผู้ชมภาพเมื่อเห็นแล้วจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก – ได้เรียนรู้การภาพแบบต้องการสื่อความรู้สึกกับอารมณ์ ด้านการถ่ายภาพกับสิ่งมีชีวิตรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว โดยรวมคือสามารถเพิ่มทักษะให้ได้มาก
เวไนย​ ระวิ​วรรณ​
เจ้าหน้าที่​บริหารงานทั่วไป​ คณะนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​ขอนแก่น​

จากที่ได้เข้าร่วมการอบรม Workshop ถ่ายภาพ ที่บ้านสบลาน แต่เดิมที่เป็นคนชอบถ่ายภาพอยู่แล้ว เห็นอะไรที่ชอบหรือสนใจก็เพียงแต่หยิบกล้องขึ้นมาแล้วกดถ่าย แต่การเข้าร่วม Workshop ในครั้งนี้ทำให้ได้เทคนิคการถ่ายภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแสง สีภาพ มุมมอง ความคิดที่ต้องการสะท้อน การเล่นแสงและเงา เป็นต้น อีกทั้งได้เห็นตัวอย่างภาพถ่ายจากพี่ๆช่างภาพ ซึ่งทำให้มองเห็นภาพหรือการนำมาใช้ได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะนอกจากจะได้เรียนเชิงวิชาการแล้ว ยังได้ทดลองถ่ายภาพด้วยตนเองในเชิงปฏิบัติ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆพี่ๆจากภาพที่ได้เราถ่ายมานั้นสื่อให้เห็นถึงอะไร หรือเป็นไปตามสิ่งที่เราต้องการจะสื่อหรือไม่ ซึ่งชื่นชอบกับกระบวนการนี้มาก ข้อเสนอแนะ-อยากให้เพิ่มเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆมากกว่านี้ แทนที่จะแลกเปลี่ยนกันเพียงแค่สองคน เพื่อให้ได้มุมมอง ความคิดเห็นต่อภาพถ่ายมากยิ่งขึ้น
ประภาพร ปรียาภัสวรสกุล
เสมสิกขาลัย (SEM)

โดยปกติก็เป็นคนชอบถ่ายรูป แต่ก็ถ่ายแบบมั่วๆ เห็นอะไรก็ถ่าย ไม่รู้ต้องถ่ายมุมไหนให้ดูน่าสนใจ พอได้เรียนกับพี่แล้วทำให้รู้ถึงเทคนิคต่างๆในการถ่ายรูปมากขึ้น ต้องรู้สึกไปกับมัน ทำให้รู้ว่าต้องถ่ายยังไงให้ดูน่าสนใจ พี่สอนไปด้วยให้น้องปฏิบัติไปด้วยเลย ทำให้เข้าใจได้ง่าย โดยรวมคือดีทุกช่วงค่ะ ติดอยู่นิดเดียวคือเวลาน้อย อยากเรียนอีก 55555
นุรมา สาแล
มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี

ตัวอย่างผลงานของผู้เข้าร่วม

เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้าน มีต้นไม้ใหญ่หลายร้อยปีตั้งเรียงรายอยู่สองข้างทาง พวกเขาเรียกมันว่า "เดปอทู่""เดปอทู่"…

โพสต์โดย Supichama Sitirabut เมื่อ วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2019